วันพุธที่ 16 มิถุนายน พ.ศ. 2553

ตอบคำถามออนไลน์ประจำเดือนมิถุนายน ครั้งที่ 4/2553

ปุจฉา : ทำไมจึงต้องมีการปรับปรุงแก้ไข พ.ร.บ. สหกรณ์ จาก พ.ร.บ.สหกรณ์ พ.ศ.2542 เป็น พ.ร.บ. สหกรณ์ พ.ศ.2553 ?
วิสัชนา : เพราะมีบทบัญญัติบางข้อไม่เหมาะสมกับสถานการณ์หรือไม่เอื้อประโยชน์ต่อการดำเนินกิจการของสหกรณ์ จึงได้มีการปรับปรุง สำหรับ พ.ร.บ. สหกรณ์ พ.ศ.2553 ได้ปรับปรุงบทบัญญัติเกี่ยวกับองค์ประกอบและการดำรงตำแหน่งของคณะกรรมการ ลักษณะต้องห้ามของกรรมการหรือผู้จัดการ หลักเกณฑ์การพ้นจากตำแหน่งของกรรมการดำเนินการสันนิบาติสหกรณ์แห่งประเทศไทย การแต่งตั้งรองนายทะเบียนสหกรณ์ เงินค่าหุ้น การตั้งผู้รับโอนประโยชน์ของสมาชิกผู้ตาย อำนาจหน้าที่ของสหกรณ์ในการรับฝากเงิน หลักเกณฑ์ในการกำหนดอัตรา การเก็บค่าบำรุงสันนิบาติสหกรณ์แห่งประเทศไทย อำนาจของรัฐมนตรีในการเรียกประชุมใหญ่วิสามัญและแนวทางการแก้ปัญหาการดำเนินการของสันนิบาติสหกรณ์แห่งประเทศไทยให้คลอบคลุมและเหมาะสม

ตอบคำถามออนไลน์ประจำเดือนมิถุนายน ครั้งที่ 3/2553

ปุจฉา : เทคนิคและเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเชิงปฎิบัติการแบบมีส่วนร่วม เพื่อจะนำไปสู่การดำเนินการวิจัยในขั้นตอนต่างๆ ตั้งแต่การพัฒนาโครงการวิจัย การออกแบบวิจัย การเก็บรวบรวมข้อมูล การวิเคราะห์ข้อมูล การเขียนรายงานวิจัยและการใช้ประโยชน์จากงานวิจัยเพื่อแก้ปัญหาและขยายผลไปสู่การพัฒนามีเทคนิคและเครื่องมือที่ใช้อะไรบ้าง ?
วิสัชนา : เทคนิคและเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเชิงปฎิบัติการแบบมีส่วนร่วม มีดังนี้
1.เทคนิคการสนทนากลุ่มเป้าหมาย
2.เทคนิคเชิงกระบวนการวางแผนแบบมีส่วนร่วม
3.เทคนิคการประชุมระดมความคิดเห็นเพื่อสร้างอนาคตร่วมกัน
4.แผนที่ความคิด
5.เทคนิคการประเมินสถานการณ์อย่างมีส่วนร่วม
6.การทำแผนที่อย่างมีส่วนร่วม
7.แผนภูมิสัดส่วน
8.การสัมภาษณ์
9.การสังเกตการณ์แบบมีส่วนร่วม
10.เวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้
11.เวทีสังเคราะห์/ถอดบทเรียน
12.เทคนิคการจัดทำแผนที่กลยุทธ์

ตอบคำถามออนไลน์ประจำเดือนมิถุนายน ครั้งที่ 2/2553

ปุจฉา : การวิจัยเชิง ปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม มีหลักการอย่างไร ?
วิสัชนา : การวิจัย เชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมเป็นรูปแบบของการวิจัยที่ผสมผสานด้วยกระบวนการ ค้นคว้า (Investigation) การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ (Knowledge sharing) และการปฏิบัติการ (Action) เพื่อให้กลุ่ม เป้าหมายในการวิจัย (Unit of analysis) ได้มีส่วนร่วมในการสร้างความรู้ความเข้าใจ และหาความรู้ แนวทางใหม่ในการแก้ปัญหาร่วมกัน โดยต้องให้ความสำคัญกับหลักการพึ่งพาตนเอง การมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ความเคารพต่อ ภูมิปัญญา วัฒนธรรมท้องถิ่นและทุนทางสังคมที่มีอยู่ การปลดปล่อยความคิดอย่างมีอิสระ และการยกระดับความรู้ในแนวทางของการพัฒนาที่ยั่งยืน โดยรูปแบบของการวิจัยที่ผสมผสานด้วยกระบวนการตามหลักการดังกล่าว ย่อมจะนำไปสู่ผลผลิตงานวิจัยที่เป็นความรู้ใหม่หรือแนวทางใหม่ในการแก้ปัญหา ซึ่งจะเป็นมุมมองที่แตกต่างไปจากความคิดแบบเดิม