วันศุกร์ที่ 5 มิถุนายน พ.ศ. 2552

ชุดความรู้การสร้างเครือข่ายคุณค่า ถูกนำไปใช้เป็นยุทธศาสตร์การพัฒนาสหกรณ์

จากการดำเนินงานของผู้ประสานงานชุดโครงการวิจัยและพัฒนาการขับเคลื่อนขบวนการสหกรณ์ในพื้นที่ 36 จังหวัด โดย รศ.จุฑาทิพย์ ภัทราวาท ผู้อำนวยการสถาบันวิชาการด้านสหกรณ์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ในการเสริมสร้างเครือข่ายพันธมิตรระหว่างกลุ่ม องค์กรประชาชน และสหกรณ์ในพื้นที่ 36 จังหวัดทั่วประเทศ และหนุนเสริมการพัฒนาศักยภาพขีดความสามารถของคนและองค์กร เพื่อนำไปสู่การแก้ปัญหาความยากจนในพื้นที่ 36 จังหวัดของโครงการ โดยเน้นที่ขบวนการสหกรณ์นั้น ผลที่ได้จากการดำเนินงานของชุดโครงการนี้ประการหนึ่งคือ ชุดความรู้ "เครือข่ายคุณค่า" ซึ่งเป็นกรอบคิดสำคัญในการสร้างตัวแบบการสร้างเครือข่ายคุณค่า หรือที่เรียกว่า "ผูกเสี่ยว สร้างเกลอ" ชุดความรู้นี้ได้ถูกนำไปกำหนดเป็นยุทธศาสตร์หลักในแผนพัฒนาการสหกรณ์ ฉบับที่ 2 (พ.ศ.2550-2554)
ซึ่งเป็นแผนแม่บทในการพัฒนาการสหกรณ์ระดับชาติ โดยวิสัยทัศน์ของแผนพัฒนาการสหกรณ์ ได้กำหนดไว้ว่า "มุ่งสร้างระบบสหกรณ์ที่มีคุณค่า เพื่อการนำพาสู่สังคมอยู่เย็นเป็นสุข" โดยได้กำหนดยุทธศาสตร์สำคัญเพื่อการบรรลุวิสัยทัศน์ดังกล่าวไว้ 5 ประการ สำหรับยุทธศาสตร์ที่ 4 ได้กำหนดให้มีการพัฒนาระบบเครือข่ายความร่วมมือในการเชื่อมร้อยห่วงโซ่อุปทาน และประโยชน์สู่สมาชิกและสังคมเที่ยงธรรม โดยมีแผนงานการส่งเสริมการเชื่อมโยงเครือข่ายคุณค่าแก่สหกรณ์ เป็นแผนงานสำคัญที่ประกอบด้วยโครงการต่างๆ ภายใต้กรอบเวลา ปี 2550-2554 ที่กำหนดให้สหกรณ์ในระดับต่างๆ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เป็นหน่วยงานรับผิดชอบหลักในการดำเนินการเพื่อการบรรลุวิสัยทัศน์ของแผนฯ ในปี 2554

ท่านสามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ http://www.cai.ku.ac.th/develop2.pdf

ตอบข้อซักถามเรื่อง เครือข่ายนักวิจัย

ขอยกคำถามจากบล็อกเวอร์ชั่นเดิมมา คำถามมีอยู่ว่า

อยากทราบว่า การทำงานเครือข่ายของนักวิจัยจะมีปัจจัยอะไรที่ส่งผลให้เกิดปัญหา อุปสรรคบ้าง

ขอตอบในฐานะที่เป็นผู้ประสานงานชุดโครงการวิจัย ที่มีประสบการณ์ทำงานเชื่อมโยงเครือข่ายในหลายๆ พื้นที่นะคะ ปัจจัยที่ส่งผลให้เกิดอุปสรรคอาจแบ่งออกได้เป็น 2 กลุ่มคือ

กลุ่มแรก
เป็นปัจจัยส่วนตัวของนักวิจัยเอง ซึ่งเป็นเรื่องเกี่ยวกับความเข้าใจเรื่องการเชื่อมโยงเครือข่ายคุณค่าของนักวิจัย ซึ่งถือเป็นปัจจัยสำคัญที่ส่งผลต่อความสำเร็จของเครือข่ายเป็นอย่างมาก โดยบางครั้งหากนักวิจัยไม่เข้าใจอย่างแท้จริง การเชื่อมโยงเครือข่ายอาจจะทำโดยผิวเผิน ซึ่งย่อมไม่เกิดผลสำเร็จอย่างแน่นอน

กลุ่มที่สอง
เป็นเรื่องของการสร้างกระบวนการเชื่อมโยงเครือข่าย ที่สำคัญคือจะต้องมีกระบวนการสร้างความเข้าใจถูกต้องตรงกัน และกำหนดเป็นเป้าหมายร่วมของเครือข่ายให้ชัดเจน และเป้าหมายร่วมทางเครือข่ายนี้ต้องเกิดจากความต้องการของภาคีเครือข่ายอย่างแท้จริง

โดย รองศาสตราจารย์ จุฑาทิพย์ ภัทราวาท

โครงการวิจัย เครือข่ายคุณค่ากระจายสินค้า

ก็ดีใจไม่น้อยเมื่อครั้งได้ติดตามความก้าวหน้าของโครงการวิจัยที่มีความเชื่อมโยง