วันจันทร์ที่ 11 เมษายน พ.ศ. 2554

ตอบคำถามออนไลน์ประจำเดือนเมษายน ครั้งที่ 2/2554

ปุจฉา : The Co-operative group คืออะไร มีความแตกต่างหรือเกี่ยวข้องอย่างไรกับ Co-Op hybrid ?
วิสัชนา : The Co-operative group ก่อตั้งเมื่อปี ค.ศ. 1863 ที่เมืองแมนเชสเตอร์ ประเทศอังกฤษ เป็นสหกรณ์ผู้บริโภค ทำธุรกิจคลอบคลุมตั้งแต่การท่องเที่ยว การให้บริการทางเงินการ การประกันชีวิต ยารักษาโรค การจัดหา เครื่องมือประกอบอาชีพสมาชิก เรียกว่าคลอบคลุมตามความต้องการ
ในปี 2552 The Co-operative group ได้ผนึกกำลังความร่วมมือในส่วนของธุรกิจอาหาร ควบรวมเอา Summerfield มาอยู่ในธุรกิจสหกรณ์ทำให้มีส่วนแบ่งการตลาดในอันดับที่ 5 ของธุรกิจค้าปลีกด้านอาหารของอังกฤษ ในส่วนของธุรกิจการเงินได้ merged กับสมาคม Britannia Building จึงกลายเป็นกลุ่มธุรกิจที่ใหญ่ที่สุดในด้านธุรกิจการเงินระดับกลาง นอกจากนี้ยังได้มีภาคีพันธมิตรสมาคมสหกรณ์ใน Plymouth & South west เข้ามาร่วมมือด้วย ทำให้สามารถสร้างประวัติศาสตร์การสร้าง Campaign ในแบรนด์ของ Co-operative Group เพื่อการสร้างการเปลี่ยนแปลงในธุรกิจร้านสรรพาหาร การท่องเที่ยว การฌาปนกิจ และร้านขายยา ซึ่งได้มีการเตรียมการที่จะมีความร่วมมือทางธุรกิจกับประเทศจีน และประเทศต่างๆ เพื่อที่จะพัฒนาไปสู่ธุรกิจในระหว่างประเทศ โดยคาดหวังว่า ภายใต้แกนนำสัมพันธภาพสหกรณ์ระหว่างประเทศที่มีสมาชิกปัจเจกบุคคลกว่า 800 ล้านคน ที่กระจายตัวใน 237 ประเทศ จะช่วยให้รูปแบบธุรกิจของ Co-operative Group และสามารถให้บริการแก่ประชาคมอย่างกว้างขวางภายใต้ Campaign “The Co-operative good for everyone”
The Co-operative group เป็นอีกหนึ่งรูปแบบของสหกรณ์ที่ปรับตัวให้เข้ากับสังคมและเศรษฐกิจที่เปลี่ยนไป เป็นสหกรณ์ลูกผสมผสานหรือ Co-op hybrid โดยยังยึดมั่นในอัตลักษณ์และคุณค่าของสหกรณ์อยู่หากแต่มีการปรับเปลี่ยนรูปแบบของสหกรณ์ไปในลักษณะธุรกิจมากขึ้น ซึ่งมีรายละเอียดยิบย่อยอีกมากมายหากต้องการข้อมูลเพิ่มเติมสามารถศึกษาได้ในวารสารฅนสหกรณ์ ฉบับที่ 11

ตอบคำถามออนไลน์ประจำเดือนเมษายน ครั้งที่ 1/2554

ปุจฉา : KM คืออะไร ?
วิสัชนา : การจัดการความรู้ หรือ Knowledge Management คือ การรวบรวมความรู้ที่มีอยู่กระจัดกระจายในองค์กรมาจัดระบบ และพัฒนาให้มีความทันสมัยอยู่เสมอ โดยจัดช่องทางการเข้าถึงความรู้ให้สะดวก รวดเร็ว และทั่วถึงเพื่อให้บุคลากรนำความรู้ ไปพัฒนาการ ปฏิบัติราชการให้มีประสิทธิภาพสูงสุด เรื่องของการจัดการความรู้ที่สำคัญอีกประการหนึ่ง คือ ถ้าผู้บริหารสูงสุดขององค์กรให้ความสำคัญก็สามารถรับประกัน ความสำเร็จได้ 100%
KM เป็นตัวย่อมาจากคำเต็มว่า Knowledge Management แปลเป็นภาษาไทย ตรงๆ ว่า “การจัดการความรู้”
ความรู้จำแนกเป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ คือ ความรู้ที่ฝังอยู่ในคน ( Tacit Knowledge) และความรู้ที่ชัดแจ้ง ( Explicit Knowledge ) ความรู้ที่ฝังอยู่ในคนคือ ประสบการณ์ ทักษะ พรสวรรค์ เทคนิค การทำงานที่สั่งสมมาจนชำนาญไม่มีในตำรา ส่วนความรู้ที่ชัดแจ้งคือ ความรู้ที่สามารถจับต้องได้ เช่น หนังสือ เอกสาร รายงาน ซีดี เทป เป็นต้น เมื่อเทียบความรู้ 2 ประเภทแล้ว พบว่า อัตราความรู้ที่ฝังอยู่ในคนมากกว่าความรู้ที่ชัดแจ้งเป็นอัตราส่วน 80 : 20 คงพอทราบคร่าวๆ แล้วว่า ความรู้คืออะไร มีกี่ประเภท ตอนนี้จะขอเล่าถึงวิธีการจัดการความรู้ให้เป็นระบบ ให้บุคลากรสามารถ นำความรู้นั้นมาใช้ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพได้ ในปี 2549 เมื่อสถาบันเพิ่มผลผลิตแห่งชาติ มาวางระบบเรื่องนี้ ให้สำนักงาน ก.พ.ร. ทำให้ส่วนราชการมีการจัดการความรู้ตามขั้นตอนที่เป็นระบบ โดยเริ่มจาก
ขั้นตอนที่ 1 การบ่งชี้ความรู้ หน่วยงานต้องสำรวจความรู้ที่บุคลากรจำเป็นต้องใช้เพื่อให้การทำงานบรรลุเป้าหมาย โดยสำรวจว่า เราต้องการความรู้อะไร และที่มีอยู่เพียงพอหรือไม่
ขั้นตอนที่ 2 การสร้างและแสวงหาความรู้ เมื่อสำรวจแล้วเห็นว่าความรู้ที่มีอยู่ไม่เพียงพอ ก็ต้องไปแสวงหามาเพิ่มเติมให้ได้ครบถ้วนสมบูรณ์ มากที่สุด
ขั้นตอนที่ 3 การจัดการความรู้ให้เป็นระบบ เมื่อได้ความรู้มาเพียงพอแล้วก็นำมาจัดหมวดหมู่ให้ชัดเจน และจัดเก็บไว้ในรูปแบบต่างๆ ทั้ง เอกสาร หนังสือ เทป วีซีดี เป็นต้น
ขั้นตอนที่ 4 การประมวลและกลั่นกรองความรู้ ต้องนำความรู้ที่จัดเก็บเป็นหมวดหมู่ไว้แล้วมาทบทวน กลั่นกรอง ให้มีความทันสมัย
ขั้นตอนที่ 5 การเข้าถึงความรู้ ต้องมีการจัดช่องทางเผยแพร่ความรู้ทางช่องทางต่างๆ ที่หลากหลาย เพื่อให้บุคลากรสามารถเข้าถึง ความรู้ได้สะดวก รวดเร็ว และทั่วถึง
ขั้นตอนที่ 6 การแบ่งปันแลกเปลี่ยนความรู้ จัดกิจกรรมให้บุคลากรมีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เช่น กิจกรรมชุมชนนักปฏิบัติ (Community of Practice หรือ Cop.), การสอนงาน (Coaching) และระบบ พี่เลี้ยง (Mentoring) เป็นต้น
ขั้นตอนที่ 7 การเรียนรู้ กำหนดให้บุคลากรในองค์กรต้องใช้ KM เข้ามาช่วยในการทำงานเพื่อผลงานที่มีประสิทธิภาพ โดยอาจกำหนดเป็นนโยบาย จากผู้บริหารขององค์กรก็ได้

ขั้นตอนต่างๆ ทั้ง 7 ขั้นตอนนี้ เมื่อลงมือปฏิบัติจริงๆ ต้องใช้เวลาพอสมควร โดยเฉพาะในขั้นตอน ที่ 7 เป็นขั้นตอนที่ต้องการให้เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องจริงจัง นั่นก็คือ บุคลากรทุกคนต้องทำงานโดยมี KM อยู่ในสายเลือด โดยการทำงานที่ต้องใช้องค์ความรู้ที่ถูกต้อง ทันสมัย ครบถ้วน มาประกอบการ ปฏิบัติราชการในความรับผิดชอบทุกเรื่อง แล้วงานที่ออกมาก็จะเกิดความผิดพลาดน้อยที่สุด หรือ ไม่เกิดความผิดพลาดเลย