วันพุธที่ 27 พฤษภาคม พ.ศ. 2558

การเข้าร่วมการประกวดนักสหกรณ์และสหกรณ์ที่มีคุณค่า ประจำปี 2558

การเข้าร่วมการประกวดนักสหกรณ์และสหกรณ์ที่มีคุณค่า ประจำปี 2558

ปุจฉา : เกณฑ์การให้คะแนนคุณสมบัติของนักสหกรณ์และสหกรณ์ที่มีคุณค่า ประจำปี 2558 มีอย่างไรบ้าง

วิสัชนา : เกณฑ์การให้คะแนนแบ่งออกเป็น 4 เกณฑ์ ๆ ละ 25 คะแนน ได้แก่ มิติด้านคุณค่าสหกรณ์ มิติด้านกระบวนทัศน์ มิติด้านหลักการ และมิติด้านปฏิบัติ โดยมีรายละเอียดต่างกัน ดังนี้
กรณีที่ 1 รายละเอียดสำหรับนักสหกรณ์ที่มีคุณค่า
      มิติด้านคุณค่าสหกรณ์ ตัวตนของผู้นำสะท้อนให้เห็นเอกลักษณ์ของคุณค่าสหกรณ์ 10 ประการ พร้อมทั้งแสดงผลงานที่เกี่ยวข้อง
      มิติด้านกระบวนทัศน์
o   สามารถขับเคลื่อนแผนกลยุทธ์ไปสู่ผลสัมฤทธิ์อย่างเป็นรูปธรรม
o   มีผลงานนวัตกรรมที่ก่อเกิดการเพิ่มคุณค่าหรือมูลค่าเพิ่มในสหกรณ์
      มิติด้านหลักการ มีผลงานประจักษ์ในการปฏิบัติตามหลักการสหกรณ์สากล 7 ประการ
      มิติด้านแนวปฏิบัติ มีผลงานชัดเจนในด้านการบริหารงานที่ตั้งมั่นในหลัก
ธรรมาภิบาล โดยอธิบายถึงแนวปฏิบัติอย่างเป็นรูปธรรม
กรณีที่ 2 รายละเลียดสำหรับสหกรณ์ที่มีคุณค่า
      มิติด้านคุณค่าสหกรณ์
o   สหกรณ์มีผลการดำเนินงานที่แสดงให้เห็นถึงอัตลักษณ์ตามคุณค่าพื้นฐาน 6 ประการ ด้วยการเป็นองค์การที่ยึดมั่นในหลักพึ่งพาตนเอง การรับผิดชอบต่อตนเอง ยึดมั่นในหลักประชาธิปไตย ความเสมอภาค ความเที่ยงธรรม และความสามัคคีเป็นปึกแผ่น
o   สหกรณ์ให้บริการทางธุรกิจแก่สมาชิกด้วยการยกระดับฐานะความเป็นอยู่ของสมาชิกให้ดีขึ้น
      มิติด้านกระบวนทัศน์
o   สามารถขับเคลื่อนแผนกลยุทธ์ไปสู่แผนปฏิบัติการอย่างเป็นรูปธรรม
o   มีการปรับเปลี่ยนกระบวนทัศน์ไปสู่การบริหารจัดการอย่างมีนวัตกรรม
      มิติด้านหลักการ มีผลการดำเนินงานที่แสดงให้เห็นถึงระบบบริหารจัดการที่ดี โดยปฏิบัติตามหลักการสหกรณ์สากล 7 ประการ

      มิติด้านแนวปฏิบัติ มีผลงานที่เป็นตัวแบบและแนวปฏิบัติที่ดีต่อสหกรณ์อื่น

วันศุกร์ที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2556

ต้องการเข้าร่วมงานรประกาศเกียรติคุณนักสหกรณ์และสหกรณ์ที่มีคุณค่าแห่งปี 2556 ต้องทำอย่างไร?

ปุจฉา :
          โครงการประกาศเกียรติคุณนักสหกรณ์และสหกรณ์ที่มีคุณค่าแห่งปี 2556 และเสวนาวิชาการ นำสหกรณ์สู่การเป็นธุรกิจฐานสังคม”  ที่จะจัดขึ้นในวันที่ 16 กันยายน 2556 มีวัตถุประสงค์และองค์ประกอบของงานอย่างไร? และหากต้องการเข้าร่วมงานต้องทำอย่างไร?

วิสัชนา :
1. วัตถุประสงค์
1.1    การประกาศเกียรติคุณนักสหกรณ์และสหกรณ์ที่มีคุณค่า ประจำปี 2556
1.2    เพื่อเปิดพื้นที่เรียนรู้ร่วมกันสำหรับแนวทางการยกระดับสมรรถนะสหกรณ์สู่การเป็นธุรกิจฐานสังคม
1.3    เพื่อเผยแพร่ชุดความรู้และนวัตกรรมนำการพัฒนาการเป็นธุรกิจฐานสังคม
2.       องค์ประกอบของงาน
     องค์ประกอบของงานประกอบด้วย 4 ส่วน ได้แก่ การประกาศเกียรติคุณนักสหกรณ์และสหกรณ์ที่มีคุณค่าแห่งปี 2556 การจัดเวทีเสวนาวิชาการภาคเช้า การจัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ภาคบ่าย และการจัดบู๊ทนิทรรศการเผยแพร่ความรู้จากการวิจัยสู่สาธารณะ
           หากสนใจเข้าร่วมงานติดต่อได้ที่

สถาบันวิชาการด้านสหกรณ์ คุณปรียาพร  บุ้งทอง (02-9406300) หรือลงทะเบียนออนไลน์ที่ www.cai.ku.th (ภายในวันที่ 31 ส.ค. 2556)

วันพฤหัสบดีที่ 22 สิงหาคม พ.ศ. 2556

“นักสหกรณ์ที่มีคุณค่า” และ “สหกรณ์ที่มีคุณค่า” ต้องมีคุณสมบัติอย่างไรบ้าง

ปุจฉา :
          สถาบันวิชาการด้านสหกรณ์ คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ได้มีการประชาสัมพันธ์                  การประกาศเกียรติคุณ นักสหกรณ์ที่มีคุณค่าและ สหกรณ์ที่มีคุณค่า ประจำปี 2556

          หากมีผู้สนใจเสนอชื่อรับประกาศเกียรติคุณ ต้องมีคุณสมบัติของ นักสหกรณ์ที่มีคุณค่า และ                “สหกรณ์ที่มีคุณค่า อย่างไรบ้าง ?

วิสัชนา :
           คุณสมบัติของนักสหกรณ์ที่มีคุณค่าแห่งปี 2556 มี 4 มิติ ดังนี้
          1. มิติด้านคุณค่า : ตัวตนของผู้นำสะท้อนให้เห็นเอกลักษณ์ของคุณค่าสหกรณ์ 10 ประการ พร้อมทั้งแสดงผลงานที่เกี่ยวข้อง
          2. มิติด้านกระบวนทัศน์ : สามารถขับเคลื่อนแผนกลยุทธ์ไปสู่ผลสัมฤทธิ์อย่างเป็นรูปธรรม มีผลงานนวัตกรรมที่ก่อให้เกิดการเพิ่มคุณค่าหรือมูลค่าเพิ่มในสหกรณ์
          3. มิติด้านหลักการ : มีผลงานเชิงประจักษ์ในการปฏิบัติตามหลักการสหกรณ์สากล 7 ประการ
          4. มิติด้านแนวปฏิบัติ : มีผลงานที่ชัดเจนในด้านการบริหารงานที่ตั้งมั่นในหลักธรรมาภิบาล โดยอธิบายถึงแนวปฏิบัติอย่างเป็นรูปธรรม

           คุณสมบัติของสหกรณ์ที่มีคุณค่าแห่งปี 2556 มี 4 มิติ ดังนี้
          1. มิติด้านคุณค่า : สหกรณ์มีผลการดำเนินงานที่แสดงให้เห็นถึงอัตลักษณ์ตามคุณค่าพื้นฐาน 6 ประการ ด้วยการเป็นองค์การที่ยึดมั่นในหลักการพึ่งพาตนเอง การรับผิดชอบต่อตนเอง ยึดมั่นในหลักประชาธิปไตย ความเสมอภาค ความเที่ยงธรรม และความสามัคคีเป็นปึกแผ่น สหกรณ์ให้บริการทางธุรกิจแก่สมาชิกด้สยการยกระดับฐานะความเป็นอยู่ของสมาชิกให้ดีขึ้น

          2. มิติด้านกระบวนทัศน์ : สามารถขับเคลื่อนแผนกลยุทธ์ไปสู่แผนปฏิบัติการอย่างเป็นรูปธรรม และมีการปรับเปลี่ยนกระบวนทัศน์ไปสู่การบริหารจัดการอย่างมีนวัตกรรม
          3. มิติด้านหลักการ : มีผลการดำเนินงานที่แสดงให้เห็นถึงระบบการบริหารจัดการที่ดี โดยปฏิบัติการสหกรณ์ตามหลักการสหกรณ์ 7 ประการ
          4. มิติด้านแนวปฏิบัติ : มีผลงานที่เป็นตัวแบบและแนวปฏิบัติที่ดีต่อสหกรณ์อื่น

วันพฤหัสบดีที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2556

การประกาศเกียรติคุณ “นักสหกรณ์ที่มีคุณค่า”และ “สหกรณ์ที่มีคุณค่า” ประจำปี 2556

ปุจฉา :
          สถาบันวิชาการด้านสหกรณ์ คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ได้มีการประชาสัมพันธ์                  การประกาศเกียรติคุณ นักสหกรณ์ที่มีคุณค่าและ สหกรณ์ที่มีคุณค่า ประจำปี 2556
          หากมีผู้สนใจเสนอชื่อรับประกาศเกียรติคุณ ต้องมีคุณสมบัติของ นักสหกรณ์ที่มีคุณค่า และ                “สหกรณ์ที่มีคุณค่า อย่างไรบ้าง ?

วิสัชนา :
           คุณสมบัติของนักสหกรณ์ที่มีคุณค่าแห่งปี 2556 มี 4 มิติ ดังนี้
          1. มิติด้านคุณค่า : ตัวตนของผู้นำสะท้อนให้เห็นเอกลักษณ์ของคุณค่าสหกรณ์ 10 ประการ พร้อมทั้งแสดงผลงานที่เกี่ยวข้อง
          2. มิติด้านกระบวนทัศน์ : สามารถขับเคลื่อนแผนกลยุทธ์ไปสู่ผลสัมฤทธิ์อย่างเป็นรูปธรรม มีผลงานนวัตกรรมที่ก่อให้เกิดการเพิ่มคุณค่าหรือมูลค่าเพิ่มในสหกรณ์
          3. มิติด้านหลักการ : มีผลงานเชิงประจักษ์ในการปฏิบัติตามหลักการสหกรณ์สากล 7 ประการ
          4. มิติด้านแนวปฏิบัติ : มีผลงานที่ชัดเจนในด้านการบริหารงานที่ตั้งมั่นในหลักธรรมาภิบาล โดยอธิบายถึงแนวปฏิบัติอย่างเป็นรูปธรรม

           คุณสมบัติของสหกรณ์ที่มีคุณค่าแห่งปี 2556 มี 4 มิติ ดังนี้
          1. มิติด้านคุณค่า : สหกรณ์มีผลการดำเนินงานที่แสดงให้เห็นถึงอัตลักษณ์ตามคุณค่าพื้นฐาน 6 ประการ ด้วยการเป็นองค์การที่ยึดมั่นในหลักการพึ่งพาตนเอง การรับผิดชอบต่อตนเอง ยึดมั่นในหลักประชาธิปไตย ความเสมอภาค ความเที่ยงธรรม และความสามัคคีเป็นปึกแผ่น สหกรณ์ให้บริการทางธุรกิจแก่สมาชิกด้สยการยกระดับฐานะความเป็นอยู่ของสมาชิกให้ดีขึ้น

          2. มิติด้านกระบวนทัศน์ : สามารถขับเคลื่อนแผนกลยุทธ์ไปสู่แผนปฏิบัติการอย่างเป็นรูปธรรม และมีการปรับเปลี่ยนกระบวนทัศน์ไปสู่การบริหารจัดการอย่างมีนวัตกรรม
          3. มิติด้านหลักการ : มีผลการดำเนินงานที่แสดงให้เห็นถึงระบบการบริหารจัดการที่ดี โดยปฏิบัติการสหกรณ์ตามหลักการสหกรณ์ 7 ประการ

          4. มิติด้านแนวปฏิบัติ : มีผลงานที่เป็นตัวแบบและแนวปฏิบัติที่ดีต่อสหกรณ์อื่น

วันพฤหัสบดีที่ 18 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

“แนวทางการยกระดับสมรรถนะชาวนาสู่การเป็นมืออาชีพ”

ปุจฉา :
                ทราบข่าวประชาสัมพันธ์ทางเว็บไซต์เชิญชวนเข้าร่วมเวทีเสวนาเรื่อง  แนวทางการยกระดับสมรรถนะชาวนาสู่การเป็นมืออาชีพวันพฤหัสบดีที่ 18 กรกฏาคม 2556 ณ ห้องประชุมสุธรรม อารีกุลและห้องประชุมธีระสูตะบุตร อาคารนิเทศ 50 ปี มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เวทีเสวนานี้มีวัตถุประสงค์อย่างไรบ้างคะ

วิสัชนา :

                ด้วยสถาบันวิชาการด้านสหกรณ์ คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ได้ดำเนินการโครงการลูกชาวนาเพื่อเพิ่มสมรรถนะการทำการเกษตรเชิงธุรกิจ  : มิติใหม่แห่งการเรียนรู้จากแปลงนาสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน ภายใต้การสนับสนุนของสำนักงานส่งเสริมสังคมแห่งการเรียนรู้และคุณภาพเยาวชน (สสค.) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างหลักสูตรเรียนรู้ที่จะสร้างวิธีคิด กระบวนทัศน์ และวิธีการจัดการอาชีพและชีวิตของชาวนาอย่างเป็นองค์รวมซึ่งการพัฒนาหลักสูตรดังกล่าว เพื่อเผยแพร่แนวคิด แนวทางการยกระดับสมรรถนะชาวนาสู่การเป็นมืออาชพีสู่เกษตรกร นักพัฒนาและผู้สนใจ วัตถุประสงค์ในการจัดเวทีเสวนานี้เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้เรื่อง แนวทางการยกระดับสมรรถนะชาวนาสู่การเป็นมืออาชีพและการเสวนากลุ่มย่อยเพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน

วันพฤหัสบดีที่ 9 พฤษภาคม พ.ศ. 2556

อยากทราบถึงความเป็นมา วัตถุประสงค์ของการจัดตั้งตลาดสุขใจและเกิดประโยชน์ต่อสังคม ชุมชน หรืออื่นๆ อย่างไร ?


ปุจฉา :มีโอกาสได้ไปเที่ยวตลาดสุขใจ ที่โรงแรมสามพราน ริเวอร์ไซด์ จ.นครปฐม ทราบว่าเป็นความร่วมมือทางงานวิจัยระหว่างโรงแรมสามพราน ริเวอร์ไซด์ และสถาบันวิชาการด้านสหกรณ์ อยากทราบถึงความเป็นมา วัตถุประสงค์ของการจัดตั้งตลาดสุขใจและเกิดประโยชน์ต่อสังคม ชุมชน หรืออื่นๆ อย่างไร
วิสัชนา :ตลาดสุขใจเป็นส่วนหนึ่งของโครงการวิจัยเครือข่ายกลุ่มธุรกิจเชิงคุณค่าสามพรานซึ่งในตอนนี้อยู่ในระยะที่ 3 นี้ มุ่งเน้นไปที่การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมกับภาคีเครือข่าย การขับเคลื่อนเครือข่ายความร่วมมือของภาคีพันธมิตรที่เห็นชอบในปณิธานร่วม ภาคีทุกคนต้องเข้าใจถึงเกษตรอินทรีย์ โดยมีโรงแรมสามพราน ริเวอร์ไวด์ เป็นเสาหลักในการให้ความรู้และปัญญาได้นำไปสู่การกำหนดคุณค่าร่วม (อุดมการณ์) ของภาคี 4 ประการ ได้แก่ เชื่อมั่นในเกษตรอินทรีย์ ห่วงใยผู้บริโภค เห็นชอบแนวความคิดการพัฒนาที่ยั่งยืน และเชื่อมั่นในการพึ่งพาและร่วมมือกัน โดยการริเริ่มกลไกตลาดชุมชนภายใต้แบรนด์ตลาดสุขใจ ได้รับการตอบรับอย่างเป็นอย่างดีจากผู้บริโภคทั้งในท้องถิ่นและผู้บริโภคที่นิยมบริโภคสินค้าอาหารปลอดภัยและสินค้าเกษตรอินทรีย์ในขณะเดียวกันจะใช้ตลาดสุขใจเป็นกลไกการขับเคลื่อนความรู้ความเข้าใจเรื่องการบริโภคอาหารปลอดภัยและสินค้าเกษตรอินทรีย์สู่ผู้บริโภค โดยมีตลาดสุขใจเป็นศูนย์กลางประสานในการเชื่อมโยงระหว่างเกษตรกรกับผู้บริโภค เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ความต้องการซึ่งกันและกัน ในอนาคตจะพัฒนาให้ตลาดสุขใจจะเป็นศูนย์เรียนรู้ที่มีชีวิต ที่สามารถเป็นแหล่งรวบรวมองค์ความรู้ทางด้านเกษตรอินทรีย์ ตลอดจนด้านสุขอนามัยได้กับทุกชนชั้น ทุกเพศทุกวัย สามารถเรียนรู้และนำมาบูรณาการปรับใช้ในการดำเนินชีวิตประจำวันได้ในอนาคต
ผลลัพธ์จากการวิจัยที่นอกจากจะช่วยยกระดับความรู้ ความสามารถแก่เกษตรกรผ่านกลไกศูนย์เรียนรู้แล้ว ยังชี้ให้เห็นรูปแบบการยกระดับคุณภาพสมรรถนะการผลิต (ลด ละเลิกการใช้สารเคมี ช่วยลดต้นทุน) แก่เกษตรกรด้วยการใช้กลไกตลาดเปิดพื้นที่การเรียนรู้ร่วมกันระหว่างผู้ผลิตและผู้บริโภค (เกษตรกรผลิตสินค้าได้ตรงตามความต้องการของผู้บริโภค) ซึ่งก่อให้เกิดประโยชน์ทั้ง 2 ฝ่าย ที่สำคัญ ตลาดสุขใจยังสร้างความสนใจแก่ผู้บริโภคในวงกว้างผ่านกลไกสื่อประชาสัมพันธ์ในหลายรูปแบบเพื่อเป็นการต่อยอดและขยายผลการยกระดับการผลิตเกษตรกรปลอดภัยและการผลิตเกษตรอินทรีย์แก่เกษตรกรอย่างเป็นรูปธรรม อีกทั้งการประเมินผลการดำเนินงานของกลุ่มธุรกิจเชิงคุณค่าสามพรานทั้งในด้านเศรษฐกิจ สังคม

วันพฤหัสบดีที่ 31 มกราคม พ.ศ. 2556

จากกรณีที่สถาบันขับเคลื่อนสนับสนุนธุรกิจฐานสังคม (Social Economy Enterprises: SEE)อยากทราบมีตัวแบบที่ไหนที่สามารถศึกษาเป็นตัวอย่างที่ดีได้บ้าง



ปุจฉา : จากกรณีที่สถาบันขับเคลื่อนสนับสนุนธุรกิจฐานสังคม (SocialEconomy Enterprises: SEE)อยากทราบมีตัวแบบที่ไหนที่สามารถศึกษาเป็นตัวอย่างที่ดีได้บ้าง

วิสัชนา: คุณสมบัติของตัวแบบธุรกิจฐานสังคม (Social EconomyEnterprises: SEE) ต้องมีคุณลักษณะที่สำคัญ 5 ประการ ได้แก่ 1.) ตัวแบบธุรกิจที่ดำเนินการบนหลักการการพึ่งพาและร่วมมือกันของภาคีภายใต้ 3 เสาหลักด้านการพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม 2.) ภาคีมีกรอบการทำงานอย่างมีแบบแผนเพื่อการบรรลุเป้าหมายร่วม 3.) มีการบริหารจัดการโซ่อุปทานในธุรกิจ 4.) ดำเนินธุรกิจภายใต้กลไกตลาดเพื่อเป้าหมายทางเศรษฐกิจและสังคม และ 5.) ไม่เป็นองค์กรรับเงินทุนเพื่อการแทรกแซงกลไกตลาดที่เป็นอุปสรรคต่อการค้าที่เป็นธรรม

การขับเคลื่อนการดำเนินงานของตัวแบบธุรกิจฐานสังคมของสถาบันฯชี้ให้เห็นบริบท 3 ประการ ที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาเศรษฐกิจ การพัฒนาสังคม และสิ่งแวดล้อม โดยมีประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนา ซึ่งสอดคล้องกับทิศทางการพัฒนาประเทศภายใต้แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 11ตามแผนที่ยุทธศาสตร์ในการขับเคลื่อนธุรกิจฐานสังคมสู่การบรรลุวิสัยทัศน์การพัฒนาประเทศ  สังคมอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข มีความเสมอภาค เป็นธรรม มีภูมิคุ้มกันต่อการเปลี่ยนแปลงภายใต้การดำเนินการวิจัยใน 2 กลุ่มงานวิจัย ประกอบด้วย กลุ่มงานวิจัยพัฒนาระบบสนับสนุนธุรกิจฐานสังคม และกลุ่มงานวิจัยส่งเสริมการขับเคลื่อนขบวนการธุรกิจฐานสังคมภายใต้กรอบระบบคุณค่าและการค้าที่เป็นธรรม (VN & F Platform) เพื่อปลุกจิตสำนึก ปรับวิธีคิด วิธีการทำงานของภาคี โดยใช้กลไกของการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม และการนำทุนความรู้ ทุนเศรษฐกิจ และทุนทางสังคมของภาคีเครือข่ายภายใต้ชุดโครงการฯ ต่อยอดและขยายผลเพื่อขับเคลื่อนการวิจัยและพัฒนา อันจะนำไปสู่การลดความเหลื่อมล้ำที่เป็นอยู่ในระบบเศรษฐกิจปัจจุบัน และก้าวไปสู่ระบบการค้าที่เป็นธรรม ที่จะเป็นทางเลือกของประชาชนสู่การมีชีวิตที่ดีกว่า

                ในปัจจุบันสถาบันวิชาการด้านสหกรณ์มีเครือข่ายตัวแบบธุรกิจฐานสังคม(Social Economy Enterprises: SEE) คือ สหกรณ์การเกษตรเขาคิชฌกูฏ จำกัด จ. จันทบุรี, กลุ่มธุรกิจเชิงคุณค่าสามพราน จ.นครปฐม และเครือข่ายคุณค่าชาวนาคุณธรรม จ.ยโสธร

วันพุธที่ 12 ธันวาคม พ.ศ. 2555

โครงการของขวัญปีใหม่ มีความสำคัญอย่างไรและเกิดผลอย่างไรแก่ผู้ซื้อและผู้รับของขวัญ

ปุจฉา : โครงการของขวัญปีใหม่ มีความสำคัญอย่างไรและเกิดผลอย่างไรแก่ผู้ซื้อและผู้รับของขวัญ
วิสัชนา : โครงการของขวัญปีใหม่ 2555 อยู่ภายใต้การดำเนินงานของโครงการร้าน Farmer Shop ของสถาบันวิชาการด้านสหกรณ์ คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อเพิ่มทางเลือกแก่ประชาคมในมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ในการที่จะได้มีโอกาสอุดหนุนสินค้าคุณภาพดี ในราคาย่อมเยาและยังเป็นการช่วยสนับสนุนสินค้าของคนไทย ผู้ประกอบการรายย่อย OTOP SMEs ที่ผ่านการคัดเลือกจากร้าน Farmer shop ตามเกณฑ์มาตรฐานสินค้าจึง มั่นใจได้ว่าสินค้ามีคุณภาพอย่างแน่นอน ในโอกาสเทศกาลส่งความสุขในปีใหม่สินค้าในโครงการของขวัญปีใหม่จึงนับเป็นอีกหนึ่งทางเลือกหนึ่งในการเลือกหาสินค้า/ของขวัญให้กับผู้สนใจส่งต่อความสุขให้กับคนที่คุณรัก

วันศุกร์ที่ 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

ตอบคำถามออนไลน์ประจำเดือนกันยายน ครั้งที่ 5/2555

ปุจฉา : อยากทราบการทำงานของสถาบันวิชาการด้านสหกรณ์มีทิศทางของการพัฒนาสังคมอย่างไร ?

วิสัชนา :ปัจจุบันสถาบันวิชาการด้านสหกรณ์ได้ขับเคลื่อนการดำเนินการชุดโครงการวิจัยการขับเคลื่อนการพัฒนาการสหกรณ์และการค้าที่เป็นธรรม ระยะที่ 5 มุ่งเน้นไปที่การนำชุดความรู้ตามกรอบการพัฒนาระบบคุณค่าและการค้าที่เป็นธรรม (VN&F Platform) ไปใช้ในการพัฒนาตัวแบบธุรกิจ โดยมีโครงการวิจัยภายใต้ชุดโครงการทั้งสิ้น 12 โครงการ โดยกระบวนการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม ซึ่งได้นำเอาการบริหารจัดการโซ่อุปทานมาใช้ในธุรกิจ เพื่อการยกระดับสมรรถนะของธุรกิจ การบริหารจัดการทรัพยากรร่วมกันให้เกิดประโยชน์สูงสุด และการแบ่งงานกันตามความสามารถของภาคี ได้ก่อให้เกิดคุณค่าทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม และการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม โดยข้อค้นพบจากการวิจัยได้ชี้ให้เห็นคุณสมบัติของตัวแบบธุรกิจที่สำคัญ 5 ประการ ได้แก่ 

   1.) ตัวแบบธุรกิจที่ดำเนินการบนหลักการการพึ่งพาและร่วมมือกันของภาคีภายใต้ 3 เสาหลักด้านการพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม 
   2.) ภาคีมีกรอบการทำงานอย่างมีแบบแผนเพื่อการบรรลุเป้าหมายร่วม 
   3.) มีการบริหารจัดการโซ่อุปทานในธุรกิจ 
   4.) ดำเนินธุรกิจภายใต้กลไกตลาดเพื่อเป้าหมายทางเศรษฐกิจและสังคม และ 
   5.) ไม่เป็นองค์กรรับเงินทุนเพื่อการแทรกแซงกลไกตลาดที่เป็นอุปสรรคต่อการค้าที่เป็นธรรม ซึ่งคุณสมบัติดังกล่าวบ่งชี้ถึงบริบทของการเป็นธุรกิจฐานสังคม (Social Economy Enterprises: SEE)
         
    กระบวนการขับเคลื่อนการดำเนินงานของตัวแบบธุรกิจฐานสังคมดังกล่าวชี้ให้เห็นบริบท 3 ประการ ที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาเศรษฐกิจ การพัฒนาสังคม และสิ่งแวดล้อม โดยมีประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนา ซึ่งสอดคล้องกับทิศทางการพัฒนาประเทศภายใต้แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 11 ดังนั้น คณะผู้วิจัยจึงได้จัดทำข้อเสนอเชิงนโยบาย ในการขับเคลื่อนธุรกิจฐานสังคมในฐานะกลไกการพัฒนาที่มีประชาชนเป็นศูนย์กลาง ภายใต้กรอบการวิเคราะห์ปัจจัยสภาพแวดล้อมของตัวแบบธุรกิจฐานสังคมได้นำไปสู่การกำหนดประเด็นยุทธศาสตร์ 9 ประการ จากนั้นจึงนำมาจัดทำเป็นแผนที่ยุทธศาสตร์ในการขับเคลื่อนธุรกิจฐานสังคมสู่การบรรลุวิสัยทัศน์การพัฒนาประเทศ  สังคมอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข มีความเสมอภาค เป็นธรรม มีภูมิคุ้มกันต่อการเปลี่ยนแปลง